เมนู

5. วาลสูตร



ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก



[1737] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมาก
ด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไป
ติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้วได้มีความคิด
ว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก
แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว.
[1738] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุง
เวสาลีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อ
เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี
ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ
ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กัน โดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด
ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศรให้
เข้าไปติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว
ศึกษาดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า
กัน คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่

ผิดพลาด กับการแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น
7 ส่วน.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย
ที่แบ่งออกแล้วเป็น 7 ส่วน กระทำได้ยากกว่า และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า
พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่า
โดยแท้ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบวาลสูตรที่ 5

อรรถกถาวาลสูตร



พึงทราบอธิบายในวาลสูตรที่ 5.
คำว่า สณฺ ฐาคาเร ได้แก่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ. คำว่า อุปาสนํ
กโรนฺเต
ได้แก่ฝึกศิลป์ คือ การยิงลูกธนู. คำว่า ไม่ผิดพลาด ได้แก่
ไม่ยิงลูกศรให้เลยไป. คำว่า โปขานุโปขํ ความว่า พระเถระได้เห็น กุมาร
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ผู้ยิงลูกศรลูกหนึ่งให้เข้าไปติดๆ อย่างนี้ คือ ลูกศรอื่นย่อม
แทงลูกศรที่ติดปลายขนนกของลูกศรนั้นฉันใด ขึ้นชื่อว่า ลูกศรที่ติดขนนกที่
ปลายลูกศรอื่น ย่อมแทงลูกศรที่มีขนนกติดปลายลูกศรของลูกศรที่ 2 อีก ลูกศร
ที่ติดปลายขนนกตามมาอื่นอีก ก็ย่อมแทงลูกศรที่ขนนกติดปลายลูกศรอื่นของ
ลูกศรนั้นอีกมาก ฉันนั้น. คำว่า ยตฺร หิ นาม ตัดบทเป็น เย หิ นาม